รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ของ การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในประเทศไทย

ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่มีการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ แต่มีการเลือกตั้งในอีกรูปแบบที่คล้ายกัน คือ แบบสัดส่วน โดยให้มีผู้แทนในระบบสัดส่วน 80 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งจะแบ่งประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด โดยแต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกัน และแต่ละเขตมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นผืนเดียว แต่ละพรรคการเมืองจะต้องส่งรายชื่อผู้สมัคร 8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน เรียงตามลำดับหมายเลข

ในแต่ละกลุ่มจังหวัด จะมีการการคำนวณจำนวนผู้แทนในแต่ละพรรคหลังการนับคะแนนแล้วในเงื่อนไขเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่ได้ยกเลิกเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 ของคะแนนรวมทิ้งไป ซึ่งจะได้จำนวนผู้แทนกลุ่มจังหวัดละ 10 คน เมื่อรวมผู้แทนทั้ง 8 กลุ่มจังหวัดเข้าด้วยกันก็จะได้จำนวนผู้แทนทั้งสิ้น 80 คน

ตัวอย่างการคิดคะแนน

ในกลุ่มจังหวัดหนึ่ง มีพรรคการเมืองลงสมัคร 7 พรรค ได้แก่พรรค ก., ข., ค., ง., จ., ช., ซ. ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบอบบัญชีรายชื่อผลออกมาเป็นดังนี้

  • พรรค ก. ได้ 2.0 ล้านคะแนน
  • พรรค ข. ได้ 1.5 ล้านคะแนน
  • พรรค ค. ได้ 1.2 ล้านคะแนน
  • พรรค ง. ได้ 1.0 ล้านคะแนน
  • พรรค จ. ได้ 0.2 ล้านคะแนน
  • พรรค ช. ได้ 7 หมื่นคะแนน
  • พรรค ซ. ได้ 3 หมื่นคะแนน

คะแนนรวมในกลุ่มจังหวัดเท่ากับ 6 ล้านคะแนน แต่ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 แล้ว ทุกพรรคจึงมีสิทธิ์ได้ร่วมในการคำนวณ

6 ล้านคะแนน หารจำนวนผู้แทน 10 คน ได้คะแนนเฉลี่ย 600,000 คะแนนต่อผู้แทน 1 คน นำตัวเลข 600,000 หารจำนวนคะแนนของแต่ละพรรค ได้ดังนี้

  • พรรค ก. ได้ผู้แทน 3.33 คน = 3 คน เศษ 0.33
  • พรรค ข. ได้ผู้แทน 2.50 คน = 2 คน เศษ 0.50
  • พรรค ค. ได้ผู้แทน 2.00 คน = 2 คน ไม่มีเศษ
  • พรรค ง. ได้ผู้แทน 1.67 คน = 1 คน เศษ 0.67
  • พรรค จ. ได้ผู้แทน 0.33 คน = 0 คน เศษ 0.33
  • พรรค ช. ได้ผู้แทน 0.12 คน = 0 คน เศษ 0.12
  • พรรค ซ. ได้ผู้แทน 0.05 คน = 0 คน เศษ 0.05

รวมจำนวนผู้แทนในรอบแรก 3+2+2+1 = 8 คน แต่ต้องการ 10 คน จึงพิจารณาข้อมูลเศษของแต่ละพรรคการเมือง และเพิ่มจำนวนผู้แทนให้พรรคที่มีเศษสูงสุด 2 พรรคแรกพบว่า

พรรคที่มีเศษมากที่สุด คือ พรรค ง. มีเศษ 0.67 คน จึงเพิ่มจำนวนผู้แทนพรรค ง. ขึ้นอีก 1 คน เป็น 2 คน

พรรคที่มีเศษเป็นอันดับที่สอง คือ พรรค ข. มีเศษ 0.50 คน จึงเพิ่มจำนวนผู้แทนพรรค ข. อีก 1 คน รวมเป็น 3 คน สรุปได้ว่า

ที่พรรคการเมืองได้คะแนนจำนวน ส.ส. จากการคำนวณครั้งแรกจำนวน ส.ส. ที่ได้เพิ่มจากการคำนวณส.ส.แบบสัดส่วนทั้งสิ้น
1พรรค ก.2,000,000303
2พรรค ข.1,500,000213
3พรรค ค.1,200,000202
4พรรค ง.1,000,000112
5พรรค จ.200,000000
6พรรค ช.70,000000
7พรรค ซ.30,000000
รวม8210

นี่คือตัวอย่างการคำนวณจำนวนผู้แทนในหนึ่งกลุ่มจังหวัด ทั้ง 8 กลุ่มจะมีการคำนวณในวิธีดังกล่าวนี้ แล้วจึงนำจำนวนผู้แทนมารวมกัน ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 แล้ว คะแนนที่คำนวณมาจากคะแนนรวมทั้งหมดทุกพรรค ในตัวอย่างนี้แม้พรรค จ. ช. และ ซ. จะไม่ได้มีผู้แทน แต่เป็นเพราะคะแนนไม่พอที่จะปัดเศษได้ มิใช่เพราะไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ

ใกล้เคียง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2567 การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 การเลือกตั้งระบบสัดส่วน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565